เงินเฟ้อ คืออะไร มีผลกระทบยังไง สรุปเงินเฟ้อแบบเข้าใจง่าย

เงินเฟ้อ คืออะไร มีผผลกระทบยังไง สรุปเงินเฟ้อแบบเข้าใจง่าย

น้ำมันแพง หมูแพง เศรษฐกิจไม่ดี ยังเกิด “เงินเฟ้อ” อีก

เชื่อว่าหลายคนกังวลเรื่องเศรษฐกิจอยู่ไม่น้อยจากสถานการณ์ปัจจุบันที่เราประสบพบเจอกันอยู่ ซึ่งยิงไปกว่านั้น ข่าวก็ออกว่า เกิดสภาวะเงินเฟ้อ แต่มันคืออะไรกันนะ แล้วมันมีผลกระทบอะไรด้านไหนบ้าง เราต้องระวังอะไรมั้ย วันนี้จะมาสรุป เงินเฟ้อ แบบเข้าใจง่าย

เงินเฟ้อ คืออะไร แบบเข้าใจง่ายๆ

เงินเฟ้อ คือ ภาวะที่ราคาสินค้า-บริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งทำให้มูลค่าของเงินลดลง โดยหากเงินเฟ้อเพิ่มมากขึ้นจะกระทบฐานะและความเป็นอยู่ของประชาชน เพราะจะทำให้บริโภค และจับจ่ายใช้สอยได้น้อยลงเนื่องจากมูลค่าของเงินที่ลดลง

โดยตอนนี้สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือ ราคาเชื้อเพลิง + อาหารที่เพิ่มสูงส่งผลให้ตอนนี้ค่าเงินเฟ้อของไทยขึ้นสูงขึ้นถึง 7.1% แล้ว คิดง่ายๆ ก็คือ สมมติเรามีเงิน 100,000 บาท ตอนนี้เงินที่เราใช้ได้จริงๆ เหลือแค่ 93,000 บาท หรือเงินที่เรามีเนี่ยมูลค่าน้อยลง ทำให้เราต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อสินค้าและบริการ

ตัวอย่างเหตุการณ์เงินเฟ้อที่ใกล้ตัว

เมื่อก่อน ย้อนกลับไปสมัยนู้น เรามีเงิน 40 บาท เรากินก๋วยเตี๋ยวได้ 4 จานเลย อิ่มแน่นอน

แต่ปัจจุบันกาลเวลาผ่านไป ก๋วยเตี๋ยวก็ราคาขึ้นมาเรื่อยๆ จนปัจจุบัน 40 บาท เหลือกินได้ 1 ชามเท่านั้น แบบนี้คือ เงินเฟ้อขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ เงิน 40 บาทเท่าเดิม ไม่สามารถซื้อสินค้าในราคาเดิมได้

ลองคิดถึงในอนาคตอีกสัก 10-20 ปี คิดว่าก๋วยเตี๋ยวจะราคาเท่าไหร่ แล้ว 40 บาทจะกินอะไร?

จริงๆ เงินเฟ้อ ก็ไม่ดีหนะสิ หรือ มีข้อดีของเงินเฟ้อมั้ย

จริงๆ แล้วการมีเงินเฟ้ออ่อนๆ สัก 1-3% นั้นเป็นเรื่องที่ดีเพราะเป็นการกระตุ้นการลงทุน และการแข่งขันในตลาด โดยหนึ่งในเป้าหมายของ ธปท. คือ การควบคุมเงินเฟ้อให้เหมาะสม และอยู่ในกรอบ 1-3% นี้

เพระาถ้าเงินเฟ้อมากเกินไป หรือขึ้นเยอะๆ แบบไม่ทันได้ตั้งตัวนั้นมันส่งผลกระทบกับทุกส่วน เช่น การเกิดสงคราม การเกิดโรคระบาด ฯลฯ

เพราะ เงินเฟ้อมีส่วนทำให้ฝั่งการผลิตไม่สามารถผลิตสินค้า หรือบริการ ออกมาได้ในจำนวนเท่าเดิม หรือ ทรัพยากรที่ต้องใช้ผลิตนั้นมีน้อยลง เลยส่งผลให้ราคาสูงขึ้นแบบเฉียบพลันนั้นเอง

วิธีการเกิดเงินเฟ้อมี 2 แบบ คือ demand pull และ cost push

อธิบายวิธีเกิดเงินเฟ้อแบบง่ายๆ ด้วย 2 รูปแบบ

Demand Pull

ความต้องการสินค้าและบริการมีเพิ่มสูงขึ้น เมื่อความต้องการสินค้า และบริการสูงขึ้น แต่ไม่สามารถผลิตได้ทันเท่ากับความต้องการ ส่งผลให้ราคานั้น ปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกตลาด “เป็นปัจจัยหลักในการทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ”

Cost Push

ต้นทุนสินค้าแพงขึ้น ของจำเป็นต้องขึ้นราคา เมื่อต้นทุนสินค้าโดยรวมไม่สามารถหาได้ หรือมีจำนวนน้อยลง ส่งผลให้ราคาของสินค้านั้นๆ ต้องปรับตัวสูงขึ้น เลยจำเป็นต้องปรับต้นทุนสินค้าให้สูงขึ้น

กลุ่มรายได้ปานกลางจะได้รับผลกระทบมากสุดในสภาวะเงินเฟ้อ

ผลกระทบจากเงินเฟ้อ ใครได้รับผลกระทบบ้าง

งานวิจัยนี้ได้อธิบายว่าทำไม “คนจน ถึงจะจนต่อไปเรื่อยๆ” โดยแบ่งครอบครัวไทยออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อสำรวจค่าใชจ่ายต่อรายได้ โดยแบ่งสัดส่วน ดังนี้

  • กลุ่มรายได้สูง 20%
  • กลุ่มรายได้ปานกลาง 60%
  • กลุ่มรายได้น้อย 20%

สัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้

  • กลุ่มรายได้ต่ำ มีค่าใช้จ่ายเป็นค่าอาหาร 51%
  • กลุ่มรายได้ปานกลาง มีค่าใช้จ่ายเป็นค่าอาหาร 43%
  • กลุ่มรายได้สูง มีค่าใช้จ่ายเป็นค่าอาหาร 29%

จะเห็นว่าแค่ค่าใช้จ่าย ครอบครัวในกลุ่มรายได้ต่ำ ก็กินไปถึงครึ่งหนึ่งของรายได้แล้ว ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องถามถึงเรื่องเงินออมเลย เพราะลำพังแค่ใช้ชีวิตกับจ่ายค่าใช้จ่ายที่จำเป็นรายได้ก็จะหมดอยู่แล้ว

ที่สำคัญ ถ้าตกงาน หรือเจ็บไข้ได้ป่วย มาก็ไม่มีกินมีใช้กันเลยในบางครอบครัว

อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่งานวิจัยบอกก็ คือ ค่าใช้จ่ายทางการศึกษา

สัดส่วนค่าใช้จ่ายทางการศึกษา

  • กลุ่มรายได้ต่ำใช้ไป 2% ของรายได้
  • กลุ่มรายได้สูงใช้ไป 4% ของรายได้

โดยงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าการลงทุนด้านการศึกษาเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางโอกาส เพราะ เมื่อกลุ่มรายได้น้อยไม่มีรายได้มากพอที่จะใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแล้ว สิ่งที่เขาจะตัดออกเลยก็คือค่าใช้จ่ายทางด้านการศึกษานั่นเอง

“ตรงนี้จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในระยะยาว”

(อ้างอิงจาก: เจาะลึกความเหลื่อมล้ำตลอดสามทศวรรษ ของประเทศไทย ตอนที่ 1 หลากมิติของความเหลื่อมล้ำ โดยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์)

ผลกระทบจากเงินเฟ้อ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ

โดยจริงๆ แล้วถ้าไปดูที่สาเหตุความ “ความรวย Vs ความจน” มันไม่ได้เกี่ยวกับแค่ใครขยันหรือไม่ขยัน แต่มันมาจาก “โอกาส” คนที่มีต้นทุนที่ดีก็จะมีโอกาสที่จะเข้าถึงแหล่งความรู้ และงานที่ดี แต่คนที่ไม่มีก็คือไม่มีเลยจริงๆ ต่อให้ขยันทำงานแต่รายได้ที่ได้รับกลับมาแทบจะไม่ได้ช่วยให้ชีวิตดีขึ้นได้เลย

โดยสรุปแล้วคอนเทนท์นี้ อยากจะให้ทุกคนได้เห็นภาพของเงินเฟ้อ และปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมที่มาจากความเหลื่อมล้ำ กันนะครับ

ถึงแม้หลายคนจะบอกว่าเราไม่ได้กระทบจากเรื่องนี้เท่าไหร่ แต่บอกเลยว่ามันไม่ได้ไม่กระทบครับ เราแค่ยังโดนไม่เต็มๆ ถ้าเราเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพลักดันให้สังคมดีขึ้นได้ถึงแม้จะแค่นิดเดียว ก็ช่วยกันคนละไม้คนละมือนะครับ ให้เราได้มีคุณภาพชีวิต และสังคมที่ดีกว่านี้กัน

เงินเฟ้อ กับ การลงทุนในตลาด

โดยปกติ ราคาของสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้นจะสะท้อนถึงเงินเฟ้อ จะมีกลุ่มสินทรัพย์ที่มักได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อเช่นกัน โดยเฉพาะสินทรัพย์ที่มีอัตราผลตอบแทนจำนวนคงที่ เช่น ตราสารหนี้ เพราะมูลค่าของผลตอบแทนจะน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น

หรือแม้กระทั่ง ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ที่มีอัตราผลตอบแทนน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ ก็เรียกว่าไม่คุ้มกัน

แต่ไม่ใช่ทุกสินทรัพย์จะได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อในด้านไม่ดีทั้งหมด เพราะบางสินทรัพย์ได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นก็มีเช่นกัน ซึ่งมักจะเป็นสินทรัพย์ที่สามารถปรับเพิ่มผลตอบแทนล้อตามกันไปกับเงินเฟ้อได้

โดยปกติ สภาวะแบบนี้ จะเกิดความผันผวนในตลาด แต่สินทรัพย์ที่มีความจับต้องได้ หรือ เป็นแหล่งปลอดภัยก็จะเข้ามาได้รับความนิยม เช่น ทองคำ หรือ บางคนก็มองคริปโต อย่างบิดคอยด์เป็นแหล่งปลอดภัยเช่นกัน

ขนาดตลาดหุ้นที่โตตามธุรกิจ ก็ไม่ใช่ทุกธุรกิจจะสู้เงินเฟ้อไหว เพราะงั้นต้องมองให้ขาดว่า อะไรที่ได้ประโยชน์จากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น และคุ้มเสี่ยงที่จะลงทุน

หนีเงินเฟ้อ ด้วยการเอาฝากคริปโตได้มั้ย

สรุปเรื่องเงินเฟ้อ รับมือยังไงดี

สรุปก็คือ เงินเฟ้อ ทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้น เมื่อเทียบกับมูลค่าเงิน แต่จริงๆ ก็มีด้านดี เพราะจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ แต่มากไปก็ไม่ดีเพราะอาจทำให้เศรษฐกิจพัง เงินไม่มีมูลค่าเลย

“ช่วงนี้เงินเฟ้อหนัก” เราจะรับมือมันได้ยังไงบ้างนะ

  1. วางแผนการออมเงิน ช่วงที่เงินเฟ้อ การลงทุน การใช้จ่ายก็มีความเสี่ยง เพราะงั้นรักษาเงินสดไว้ก็ดีกว่า
  2. วางแผนใช้เงินอย่างประหยัด เพราะถ้าเราใช้จ่ายเท่าเดิม เราจะซื้อของได้น้อยลง ทำให้เราต้องจ่ายเยอะขึ้น เพราะงั้น อาจจะต้องประหยัด หรือ อย่าใช้จ่ายอย่างไม่คิดจนเกินไป
  3. วางแผนหารายได้เสริม จุดนี้ควรมีเพราะมูลค่าเงินมันน้อยลง เราจึงต้องหาเงินเพิ่ม เพื่อให้ใช้จ่ายได้เท่าเดิม การเทรดก็เป็นทางนึงในการหารายได้ และสู้กับเงินเฟ้อได้ด้วยผลตอบแทนที่มากกว่าอัตราเงินเฟ้อ
X