Risk Reward Ratio คืออะไร คำนวน RR ยังไง

Risk Reward Ratio ตัวชีวัดว่า เทรดนั้นๆ คุ้มที่จะเสี่ยงลงไปมั้ย

Risk Reward Ratio ตัวชี้กำไร และขาดทุน ถ้าพูดถึงเรื่องความเสี่ยงกับหรือนักเทรด ต้องบอกเลยว่าเป็นของคู่กันแบบแยกกันไม่ได้หากคุณต้องการที่จะได้รับรางวัลหรือผลตอบแทนมากขึ้นในการลงทุนคุณก็ต้องเสี่ยงใช้เงินทุนที่เยอะขึ้น ยอมความเสี่ยงที่สูงขึ้นเช่นกัน

🚩 เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่นักเทรดทุกคนจำเป็นต้องรู้ และจำให้ขึ้นใจเลยว่าสิ่งที่แน่นอนอย่างเดียวในการเทรดก็คือ ความไม่แน่นอน และความเสี่ยง ต่อให้เราจะมีแผนการเทรดที่สุดยอดขนาดไหน ความแม่นยำมากขนาดไหน ก็อาจจะมีการผิดแผน และต้องยอม Stoploss ออกเผื่อวางแผนใหม่

ถ้าเรารู้ว่าเราต้องเสียแล้วนั้นเราจึงจำเป็นต้องรู้จักกับ Risk Reward Ratio กันก่อน

Risk Reward Ratio (R:R) คืออะไร

Risk Reward Ratio คือ สัดส่วนเปรียบเทียบระหว่าง ความเสี่ยงที่จะขาดทุน กับ โอกาสที่จะได้ผลตอบแทน

Risk Reward Ratio (R:R) คือ สัดส่วนที่เปรียบเทียบความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงิน กับโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนหรือกำไร

โดยเราจะเอาสัดส่วนทั้ง 2 อย่างนี้มาเทียบดูว่าคุ้มค่าที่เราจะเข้าไปเสี่ยงไหม เพราะถ้าเราเป็นเทรดเดอร์ ทุกๆ การเทรดที่เราเข้านั้นจำเป็นต้องมี Stop Loss และ Take Profit ที่ชัดเจนก่อนจะเข้าไป สิ่งนี้จะช่วยให้เราลงทุนกันอย่างมีระบบ

Risk Reward Ratio คำนวนยังไง

RRR = (ราคาที่ TP – ราคาจุดที่เข้า) / (ราคาจุดที่เข้า – ราคาที่ SL)

หรือ RRR คือ ระยะทำกำไร หารด้วย ระยะขาดทุน

ตัวอย่างที่ 1 สมมติ เราจะเข้าซื้อ BTC ที่ราคา 30,000 โดยเราตั้ง TP ที่เมื่อราคามาถึง 40,000 ส่วนเรายอมขาดทุน (SL) ที่ราคาลงมาถึง 20,000

ถ้าจากตัวอย่าง จะเห็นว่า ระยะทำกำไร หรือ (ราคาที่ TP – ราคาจุดที่เข้า) จะมีค่า (40,000 – 30,000) ซึ่งเท่ากับ 10,000

ส่วนระยะขาดทุน คือ (ราคาจุดที่เข้า – ราคาที่ SL) จะมีค่า (30,000 – 20,000) ซึ่งเท่ากับ 10,000 เช่นเดียวกัน

แบบนี้ RRR จึงเท่ากับ 10,000 / 10,000 หรือเท่ากับ 1 หรือมีค่า 1:1 นั่นเอง

ตัวอย่างที่ 2 สมมติ เราจะเข้าซื้อ BTC ที่ราคา 30,000 โดยเราตั้ง TP ที่เมื่อราคามาถึง 40,000 ส่วนเรายอมขาดทุน (SL) ที่ราคาลงมาถึง 10,000

ถ้าจากตัวอย่าง จะเห็นว่า ระยะทำกำไร หรือ (ราคาที่ TP – ราคาจุดที่เข้า) จะมีค่า (40,000 – 30,000) ซึ่งเท่ากับ 10,000

ส่วนระยะขาดทุน คือ (ราคาจุดที่เข้า – ราคาที่ SL) จะมีค่า (30,000 – 10,000) ซึ่งเท่ากับ 20,000

ทำให้ Risk Reward ในตัวอย่างนี้เท่ากับ 10,000 / 20,000 หรือ เท่ากับ 0.5 ซึ่งเท่ากับว่าไม่คุ้มเสี่ยงแน่นอน เพราะ ความเสี่ยงเงินที่เสียมากกว่าได้ คือ ลงทุนไม่คุ้มแน่นอน

ตัวอย่างที่ 3 สมมติ เราจะเข้าซื้อ BTC ที่ราคา 30,000 โดยเราตั้ง TP ที่เมื่อราคามาถึง 50,000 ส่วนเรายอมขาดทุน (SL) ที่ราคาลงมาถึง 20,000

ถ้าจากตัวอย่าง จะเห็นว่า ระยะทำกำไร หรือ (ราคาที่ TP – ราคาจุดที่เข้า) จะมีค่า (50,000 – 30,000) ซึ่งเท่ากับ 20,000

ส่วนระยะขาดทุน คือ (ราคาจุดที่เข้า – ราคาที่ SL) จะมีค่า (30,000 – 20,000) ซึ่งเท่ากับ 10,000

ทำให้ Risk Reward ในตัวอย่างนี้เท่ากับ 20,000 / 10,000 หรือ เท่ากับ 2 หรือมีค่า 2:1

แบบนี้ค่อยคุ้มเสี่ยงหน่อย คือ เงินที่ได้มากกว่าเงินที่เสีย

จากการคำนวนจะเห็นได้เลยว่า RRR ไม่ควรต่ำกว่า 1 หรือ 1:1 เพราะจะไม่คุ้มกัน ซึ่งส่วนมาก ระยะ RRR ที่คนนิยมตั้งกันคือ 2:1 ทุกๆ ครั้ง เพราะถ้าเราเสีย เราเสีย 1 แต่เวลาได้ มันได้ 2 มันก็คุ้มกว่า

Risk Reward ใช้ทำอะไร

อย่างที่บอกไป R:R มีไว้ดูความคุ้มคา ที่จะเสี่ยงลงไปในเทรดนั้นๆ ซึ่งโดยขั้นต่ำที่ควรจะเป็นคือ 1:1 นั้นก็คือ เสียและได้กำไรเท่ากัน คือ เท่าตัว

แต่บางครั้งเราอาจจะหาจุดเข้าที่สามารถทำให้เราทำระยะกำไรได้มากกว่า เช่น ที่เป็นที่นิยมคือ 2:1 หรือ เสียเราเสีย 1 แต่ถ้าเทรดชนะ เราได้ 2 ก็คือกำไรคุ้มกว่า

ปกติ RR จะใช้ดูว่า คุ้มมั้ย เพราะงั้นค่า Risk Reward Ratio ที่ต่ำสุดคื 1 ต่อ 1 เพราะโอกาสเสียและได้ เท่ากัน

แต่บางครั้ง จุดที่เราเข้าเทรดมันทำกำไรได้แค่ 1:1 แต่เราไปคาดหวังเหมือนให้มันได้กำไร 1:10 นี้แหละ คือ จุดเริ่มต้นของการที่เรา “กำไรทิพย์” เพราะ ถ้าเราไม่รู้ว่าจุดที่เราเข้าไปเทรดเนี่ยมันจะทำกำไรได้เท่าไหร่

ยิ่งในช่วงตลาดคริปโตขาลงบางทีกราฟมันเป็นแค่การลงมา แล้ว Rebound ขึ้นไป ถ้าเรา Buy มาข้างล่าง มันถึง Supply ที่เราต้องเริ่มพิจารณาปิด Position แล้วไหม ? เพราะถ้ามันไม่ผ่านกราฟก็จะทำการ Continue ลงต่อในเทรนด์ขาลง (ขาขึ้นก็เช่นกัน ถ้าลงมาแล้วไม่หลุดกราฟก็จะขึ้นแล้วไปต่อ)

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มือใหม่หลายคนพลาดมากๆ เพราะ เราจะคิดว่าจุดเข้าของเราดีแล้ว กราฟยังไปต่อได้อีก แต่ทำไม๊ กราฟมันดันลงมาเท่าทุน เท่าทุนไม่พอมันยังลงกลับไปต่ำกว่าเดิมอีก แล้วเราก็กลายเป็นคนติดดอย หรือไม่ก็พอร์ตแตกไปเลย ใครที่รู้ตัวว่ากำลังพลาดเรื่องนี้อยู่ ตั้งสติ แล้วรีบแก้ไขนะครับ

การเทรดมันเหมือนมาราธอนครับไม่ต้องรีบรวยครับ ค่อยๆสะสมเงินของเรา อย่าไปกาวมากกว่าเราต้องได้ 5 เท่า 10 เท่า มันมีโอกาสไปถึงครับ แต่ระหว่างทางเราต้อง Stand by และยอมรับความผันผวนที่เกิดขึ้นให้ได้ โดยเฉพาะในตลาดคริปโตที่สามารถขึ้น 100% และลง 70% ได้ภายในไม่กี่วัน

วิธีคำนวน Size ของ Position ที่จะเปิด

นอกเหนือจากเรื่อง RR แล้ว สิ่งที่จะกระทบความคุ้ม ก็คือ ขนาดของ Position ที่เราจะออก

หลายๆ คนไม่ได้คิดเรื่องนี้ จนทำให้พลาด เพราะเกิดจากการออกขนาดเทรดไม่เหมาะสมกับขนาดพอร์ต เพราะงั้นควรจะต้องคำนวนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เราจะเสี่ยงในการเทรดครั้งนี้

หลักการคำนวนความเสี่ยง

Balance เงินในพอร์ต

ยกตัวอย่าง เรามี 100$ เราต้องรู้ก่อนว่ายอมรับความเสี่ยงได้ที่ครั้งละกี่ % ถ้าเรายอมรับได้ 5% ต่อครั้งจะเท่ากับเราเสียครั้งละ 5$ ถ้าเงินในพอร์ตจะหมดไปเราต้องเทรดเสียทั้งหมด 20 ครั้ง

ใช้ตารางคำนวนความเสี่ยง

ใช้เว็ปนี้ในการคำนวนว่าความเสี่ยงต่อไม้ที่เราลง ควรใช้ Leverage เท่าไหร่ถ้าเราเข้ามาเทรดแล้วไม่มีการคำนวนความเสี่ยง หรือ Size ที่เราจะเข้าไปกดเทรด ให้คุณระวังไว้อย่างยิ่งเลยว่าทุกอย่างมันไม่แน่นอน และคุณอาจจะหมดตัวได้ถ้าไม่รู้จักคำนวนความเสี่ยงให้ดี
X