เมื่อพูดถึงการเทรด ไม่ว่าจะตลาดหุ้น ฟอเร็กซ์ หรือ คริปโต จะมีเทคนิคที่มักจะเป็นที่พูดถึงกันบ่อยๆ คือ การใช้ Demand Supply Zone ในการเข้าเทรด
ซึ่งเป็นสิ่งที่นักเทรดหลายๆ คนใช้กัน แต่ก็มีอีกหลายคน ที่ยังไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ใช้งาน วันนี้เรามาเคลียกันเลย ว่ามันคืออะไร ทำไรได้ และใช้ช่วยในหารเทรดอย่างไร
Demand Supply Zone คืออะไร?
Demand Supply zone คือ โซนของราคาที่เกิดการซื้อและขายมาก หรือ ราคามาสัมผัสมาก ซึ่งจะค่อนข้างคล้าย แนวรับแนวต้าน ที่เรารู้จักกัน แต่เป็นการต่อยอดมาจากการใช้แนวรับแนวต้านมากขึ้น
โดยความแตกต่างคือ แนวรับแนวต้าน มักจะถูกมองเป็นราคาใดราคาหนึ่งที่ราคาสัมผัสบ่อยๆ ส่วน Demand และ Supply จะมองเป็นช่วงหรือกรอบราคามากกว่า
ซึ่งจะมองเป็นโซนที่จะเกิดการซื้อหรือขายอย่างหนัก บางคนก็บอกว่าเป็น โซนที่เจ้าใหญ่มักจะมองหาเพื่อทำการซื้อขายด้วย
โดยโซนจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
โซนที่มีความต้องการซื้อ (Demand Zone)
Demand Zone คือ เป็นโซนที่ราคามาถึงแล้ว มักจะถูกรับเอาไว้ได้ (แนวคิดเดียวกับแนวรับ) เปรียบคือ ราคาเมื่อมาถึงโซนนี้แล้ว มันจะมีแรงซื้อเข้ามามากขึ้น เพื่อให้ราคาขึ้นกลับไป
โดยจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ
รูปแบบที่ 1 Drop Base Rally (DBR)
DBR คือ ราคาเป็นเทรนขาลง (Drop) มาก่อน แล้วราคาเกิดการพักตัว (Base) จากนั้นราคาเปลี่ยนเป็นเทรนขาขึ้น (Rally)
รูปแบบที่ 2 Rally Base Rally (RBR)
RBR คือ ราคาเป็นเทรนขาขึ้น (Rally) มาก่อน แล้วราคาเกิดการพักตัว (Base) จากนั้นราคาขึ้นไปต่อ (Rally)
โซนที่มีความต้องการขาย (Supply Zone)
Supply Zone คือ เป็นโซนที่ราคามาถึงแล้ว มักจะถูกต้านเอาไว้ได้ (แนวคิดเดียวกับแนวต้าน) เปรียบคือ ราคาเมื่อมาถึงโซนนี้แล้ว มันจะมีแรงขายเข้ามามากขึ้น เพื่อให้ราคาลงกลับไป
โดยจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ
รูปแบบที่ 1 Drop Base Drop (DBD)
DBD คือ ราคาเป็นเทรนขาลง (Drop) มาก่อน แล้วราคาเกิดการพักตัว (Base) จากนั้นราคาร่วงลงต่อ (Drop)
รูปแบบที่ 2 Rally Base Drop (RBD)
RBD คือ ราคาเป็นเทรนขาขึ้น (Rally) มาก่อน แล้วราคาเกิดการพักตัว (Base) จากนั้นราคาร่วงลงต่อ (Drop)
วิธีการดูความแข็งแรงของโซน Demand Supply
หลายคนมองข้ามจุดนี้ไปเยอะมาก จนทำให้ตอนเทรดเลือกโซนผิด หรือคิดไปเองว่าต้องรับหรือคต้านได้แน่นอน แต่ไม่ได้นึกถึงว่ามันแข็งแรงพอจะรับหรือต้านได้จริงหรือไม่
วันนี้ผมจะมาแชร์ในเรื่องของความแข็งแรงของ Demand Supply ให้นะครับ เพื่อทุกคนจะได้มั่นใจในการเข้าเทรดมากขึ้น
วิธีดูความแข็งแรงของโซน Demand
Demand Zone ที่อ่อนแอ คือ ราคามีโอกาสทะลุ DZ ร่วงลงต่อได้ง่าย จะมีลักษณะ เกิดโซน DZ ก่อน และ ไม่สามารถทำลาย Swing High ก่อนหน้าได้
Demand Zone ที่แข็งแรง คือ ราคามีโอกาสที่จะลงมาแตะ DZ และดีดพุ่งขึ้นต่อ จะมีลักษณะ เกิดโซน DZ หลังจากที่ ทำลาย Swing High ก่อนหน้าได้
วิธีดูความแข็งแรงของโซน Supply
Supply Zone ที่อ่อนแอ คือ ราคามีโอกาสทำลาย SZ และพุ่งขึ้นต่อ จะมีลักษณะ เกิดโซน SZ ก่อน และไม่สามารถ ทำลาย Swing Low ได้
Supply Zone ที่แข็งแรง คือ ราคามีโอกาสพุ่งขึ้นไปแตะที่ SZ แล้วมีโอกาสโดนทุบลงมา ซึ่งเราจะเอาไว้พิจารณาในการเข้า Short หรือปิดทำกำไรก็ได้ จะมีลักษณะ เกิดโซน SZ หลังจากที่ ทำลาย Swing Low ก่อนหน้าได้
มาดู 4 จุดเข้าเทรดด้วยรูปแบบ Demand Supply
วันนี้คุณยังเป็นแบบนี้อยู่ไหม ? ตรงนี้น่าเข้าไหม กราฟจะไปทางไหน กราฟจะเป็นยังไง BTC จะขึ้นหรือลง
หากคุณยังเป็นเช่นนี้ จงเอาเวลาเหล่านี้ที่คุณถามนี่แหละ ไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมทีละเล็กละน้อย สะสมไปเรื่อย ๆ ทำเป็นประจำสม่ำเสมอ แล้ววันหนึ่ง คุณจะทำกำไรกับมันได้ด้วยตนเอง
รูปแบบของโซนความต้องการซื้อ (Demand Zone Pattern)
DBR (Drop Base Rally)
Pattern การกลับตัว ราคาจะเป็นเทรนขาลงมาก่อน “เป็น Drop” แล้วพักตัว “เป็น Base” ราคาขึ้นไป “เป็น Rally” และเราจะตีกรอบ Base โดยให้ขอบล่างของกรอบตีคลุมถึงใส้เทียน และขอบบนของกรอบ ตีคลุมบริเวณเนื้อเทียนที่เท่ากัน
จากนั้นรอราคากลับลงมาที่กรอบ Base แล้วรอเข้าเทรด Buy โดย Stop lose ตั้งไว้ที่ขอบล่างของกรอบ Base
RBR (Rally Base Rally)
Pattern ตามเทรน ราคาจะเป็นเทรนขาขึ้นมาก่อน “เป็น Rally” แล้วพักตัว “เป็น Base” ราคาขึ้นต่อไป “เป็น Rally” จากนั้นเราจะตีกรอบ Base โดยให้ขอบล่างของกรอบตีคลุมถึงใส้เทียน และขอบบนของกรอบ ตีคลุมบริเวณเนื้อเทียนที่เท่ากัน
แล้วเราก็รอราคากลับลงมาที่กรอบ Base แล้วรอเข้าเทรด Buy โดย Stop lose ตั้งไว้ที่ขอบล่างของกรอบ Base
รูปแบบของโซนความต้องการขาย (Supply Zone Pattern)
RBD (Rally Base Drop)
Pattern การกลับตัว ราคาจะเป็นเทรนขาขึ้นเป็นมาก่อน “เป็น Rally” แล้วพักตัว “เป็น Base” ราคาลงมา “เป็น Drop” และเราจะตีกรอบ Base โดยให้ขอบบนของกรอบตีคลุมถึงใส้เทียน และขอบล่างของกรอบ ตีคลุมบริเวณเนื้อเทียนที่เท่ากัน
แล้วรอราคากลับขึ้นไปที่กรอบ Base จากนั้นรอเข้าเทรด Sell โดย Stop lose ตั้งไว้ที่ขอบบนของกรอบ Base
DBD (Drop Base Drop)
Pattern ตามเทรน ราคาจะเป็นเทรนขาลงมาก่อน “เป็น Drop” แล้วพักตัว “เป็น Base” และราคาลงต่อไป “เป็น Drop” เราจะตีกรอบ Base โดยให้ขอบบนของกรอบตีคลุมถึงใส้เทียน และให้ขอบล่างของกรอบตีคลุมบริเวณเนื้อเทียนที่เท่ากัน
แล้วรอราคากลับขึ้นไปที่กรอบ Base จากนั้นให้รอเข้าเทรด Sell Stop lose ตั้งไว้ที่ขอบบนของกรอบ Base
วิธีการเข้าเทรด Demand Supply Zone ด้วยการใช้ Price Action ร่วมด้วย
ผมได้นำ Price Action มาใช้ควบคู่กับโซน ซึ่ง Demand Zone (DZ) และ Supply Zone (SZ) การเข้าเทรดด้วย Demand Supply และ Price Action จะทำให้การเทรดของเราแม่นยำขึ้นนั่นเอง
Price Action เป็นการคอนเฟิร์มว่าในตลาดมีแรงซื้อเข้ามาแล้วนะ หรือว่ามีแรงขายจำนวนมาก เราสามารถใช้เทคนิคนี้ เทรดได้ทั้ง Spot และ Futures เลย
เริ่มแรกมาทำความรู้จักกับศัพท์แต่ละตัวกันก่อน
Price Action คืออะไร?
แปลตรงตัวเลยก็คือ การกระทำของราคา หรือเป็นการที่แท่งเทียนบอกถึงแรงซื้อ หรือแรงขาย ถ้าแท่งเทียนสีเขียว หมายถึง มีการเข้าซื้อเยอะ หรือมีแรงซื้อ ตลาดต้องการซื้อ ถ้าเป็นแท่งเทียนสีแดง หมายถึง มีคนขาย หรือทั้งตลาดต้องการขาย
การเข้าเทรดด้วย Price Action ที่ Demand Zone หรือโซนความต้องการซื้อ
วิธีที่ 1 การเข้าเทรดด้วย Drop Base Rally (DBR) DBR คือ ราคาเป็นเทรนขาลงมาก่อน แล้วราคาเกิดการพักตัว จากนั้นราคาเปลี่ยนเป็นเทรนขาขึ้น เราจะเข้าเทรดก็ต่อเมื่อราคากลับเข้ามาที่ Demand โซนเท่านั้น และพิจารณารอให้เกิด Price Action ขึ้น เมื่อตลาดเริ่มมีแรงซื้อเข้ามาแล้ว เราจึงค่อยหาจังหวะในการเข้าเทรด
วิธีที่ 2 การเข้าเทรดด้วย Rally Base Rally (RBR) RBR คือ ราคาเป็นเทรนขาขึ้นมาก่อน แล้วราคาเกิดการพักตัว จากนั้นราคาขึ้นไปต่อ เราจะเข้าเทรดต่อเมื่อราคาย้อนกลับมาที่โซน และมี Price Action เกิดขึ้นที่บริเวณ Demand โซน เพื่อยืนยันว่าตลาดมีแรงซื้อ
ต่อไปเป็นการเข้าเทรดด้วย Price Action ที่ Supply Zone หรือโซนความต้องการขาย
วิธีที่ 3 การเข้าเทรดด้วย Drop Base Drop (DBD)
DBD คือ ราคาเป็นเทรนขาลงมาก่อน แล้วราคาเกิดการพักตัว จากนั้นราคาร่วงลงต่อ ซึ่ง SZ คือโซนต้องการขาย เราจะรอให้เกิดแท่งสีแดงที่ SZ เท่านั้น เราถึงจะหาจังหวะในการ Short
วิธีที่ 4 การเข้าเทรดด้วย Rally Base Drop (RBD)
RBD คือ ราคาเป็นเทรนขาขึ้นมาก่อน แล้วราคาเกิดการพักตัว จากนั้นราคาร่วงลงต่อ จังหวะนี้เราจะพิจารณาเข้าเทรด Short ต่อเมื่อมี Price Action เกิดขึ้นที่ SZ โซน หรือมีแรงขาย หรือแท่งสีแดงเกิดขึ้น
และทั้งหมดนี้เป็นเทคนิคการเข้าเทรดด้วยโซนที่คอนเฟิร์มด้วย Price Action หรือการกระทำของราคานั่นเอง Price Action จะช่วยให้เราเทรดได้อย่างแม่นยำมากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องอย่าลืม บริหารความเสี่ยง และอย่า All-in เด็ดขาด
สรุป Demand Supply Zone กับการเทรด
เทคนิคโซน Demand และ Supply นั้นถือว่าใช้กันแพร่หลายมาก ในวงการเทรด และใช้ได้ทุกตลาด เพราะนอกเหนือจะเอาไปประยุกต์ใช้การเข้าเทรดได้ ยังสามารถใช้เป็นจุดวาง Take Profit และวาง Stop Loss ได้อีกด้วย ถือว่าเป็นตัวพื้นฐานสำหรับนักเทรดหลายๆ คน เลย
ดูวิดีโอสอนเทคนิคเทรดจากโค้ช Mixer ฟรีได้ที่
https://bit.ly/youtube_tradermixer
อ่านรีวิวผลลัพธ์จริงจากนักเรียน Mixer
https://bit.ly/review_tradermixer
ดูรายละเอียดคอร์ส และติดตามข้อมูลข่าวสารที่เว็บไซต์
https://bit.ly/website_tradermixer
.